เล่าเรื่องเส้นทางรถไฟทรานส์ไซบีเรีย 

ในตู้รถไฟสายทรานไซบีเรีย ภายในขบวนหมายเลข 5 
ทางรถไฟสายทรานส์ไซบีเรีย  (Trans-Sibiria) หรือที่เราเรียกกันสั้นๆว่า ทรานส์ซิบ (Trans-Sib) เป็นสายรถไฟที่ยาวที่สุดในประเทศรัสเซีย ช่วยในการเชื่อมต่อระหว่างกรุงมอสโก ไปยังเขตตะวันออกไกลและทะเลญี่ปุ่น มีสายย่อยเชื่อมต่อไปยังมองโกเลียจะเรียกว่า ทรานส์มองโกเลีย  และเส้นทางจากปักกิ่งประเทศจีนจะเรียกว่า ทรานส์แมนจูเรีย  และเกาหลีเหนือ 

ปัจจุบันเชื่อมต่อระหว่างกรุงมอสโกกับเมืองวลาดิวอสต็อก ทางรถไฟสายทรานส์ไซบีเรีย เริ่มต้นการก่อสร้าง อย่างเป็นทางใน ค.ศ. 1891 โดยมีเซย์เกย์ วิตต์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง เส้นทางรถไฟสายทรานส์ไซบีเรียนี้ เริ่มตั้งแต่มอสโคว์ถึงวลาดิวอสต็อก มีความยาวถึง 9,288 กิโลเมตร วิ่งผ่านช่วงเวลาแตกต่างกันของโลก 8 ช่วง ผ่าน 3 ประเทศ คือ จีน มองโกเลีย และรัสเซีย ใช้เวลาการเดินทางทั้งหมด 7 วัน นับเป็นอีกหนึ่งสิ่งก่อสร้างของมนุษย์ที่สามารถมองเห็นได้จากนอกโลก ใช้เวลาก่อสร้างนานถึง 13 ปี โดยมีเส้นทางแบ่งย่อยๆ ไปอีกหลายเส้นทาง หากจะนั่งรถไฟสายทรานส์ไซบีเรียแบบครบสูตร ก็ต้องนั่งกัน 7 วัน 6 คืน จากมอสโคว์ ถึง วลาดิวอสต็อก 

แต่ด้วยเส้นทางแบบนี้คุณหุยได้ลองนั่งมาแล้วพบว่า ไม่น่าจะเหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวไทย จึงได้ไปทำการสำรวจเส้นทางใหม่อีกครั้ง โดยเริ่มต้นจากเมืองอูลันบาตาร์ ประเทศมองโกเลีย หรือ ที่เรียกกันก่อนหน้านี้ว่า มองโกเลียนอก  เพราะมองโกเลียในคือส่วนหนึ่งของประเทศจีน จากแผนที่ที่แบ่งเป็นสีแดง คือทรานส์ไซบีเรีย สีฟ้าคือ ทรานส์มองโกเลีย และ สีเหลือง คือทรานส์แมนจูเรีย เส้นทางที่ทางโกลบอลฮอลิเดย์ จัดในทุกๆปี คือส่วนหนึ่งของทรานส์มองโกเลีย และ ทรานส์ไซบีเรีย เป็นช่วงสั้นที่จะได้สัมผัสประสบการณ์การนั่งรถไฟขบวนที่ยาวที่สุด โดยเราเน้นช่วงที่เป็นเมืองท่องเที่ยว โดยใช้เวลาบนรถไฟเพียง 24 ชั่วโมง หรือ 1 คืน เท่านั้น  ความจริงตารางการเดินรถไฟระหว่างเมืองอูลันบาตาร์ ปลายทางที่มอสโคว์มีหลายขบวน แต่ละขบวนจะมีตารางการออกเดินทางจากต้นทางและการจอดสถานีต่างๆ แตกต่างกัน คล้ายการเดินรถไฟบ้านเรา ขบวนด่วน ขบวนปกติ แต่ตรงเวลา สำหรับขบวนรถไฟที่คณะกำลังจะเดินทางเป็นขบวนหมายเลข #5  จัดเป็นขบวนรถด่วน ที่จอดตามสถานีใหญ่ๆ เท่านั้น ก่อนจะขึ้นรถไฟคณะจะบินจากกรุงเทพ แวะเปลี่ยนเครื่องบินที่สนามบินอินชอน เพราะเราใช้สายการบิน Korean Air โดยใช้เวลาบินจากสนามบินสุวรรณภูมิประมาณ 5.35 ชม. ที่สนามบินอินชอนมีเวลาเปลี่ยนเครื่องประมาณ 2 ชม. หากมีลูกหลานฝากซื้อเครื่องสำอางค์เกาหลี เช่น ซัลฮวาซู ก็ซื้อได้นะคะ แต่แนะนำว่าซื้อขากลับดีกว่าค่ะ จะได้ไม่ต้องแบกไปมา 

เมื่อขึ้นเครื่องอีกครั้งจากสนามบินอินชอน ใช้เวลาอีก 3 ชม.ครึ่ง ถึงสนามบินเจงกิสข่าน ประเทศมองโกเลีย เวลาเกือบเที่ยงคืนแล้ว เป็นการเดินทางในทวีปเอเชียที่ใช้เวลานาน แต่เนื่องจากไม่มีเที่ยวบินที่บินตรงจากกรุงเทพ ถึง อูลันบาตาร์ จึงทำให้เราต้องบินไปที่ปักกิ่ง หรือ อินชอน อย่างไรก็ดี มีช่วงหนึ่งเมื่อ 2 ปีที่แล้ว สายการบิน Miat Mongolian Airlines ได้เปิดเส้นทางการบินตรงจากสนามบินสุวรรณภูมิ และอูลันบาตาร์ ได้พักหนึ่ง แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากราคาสูง และตารางบินไม่ค่อยเหมาะสมจึงทำให้การจัดทำทัวร์โดยสายการบินนี้ไม่ประสบความสำเร็จเช่นกัน ประเทศมองโกเลีย หนึ่งในประเทศที่มีประชากรหนาแน่นน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับพื้นที่ ที่มีแต่ทุ่งหญ้าและทะเลทราย และประชากรส่วนใหญ่จึงกระจุกตัวอยูนมืองหลวง เฉกเช่นเมืองหลวงทั่วไปในโลกนี้ อูลันบาตาร์ ได้ฉายาว่าเป็นเมืองหลวงที่หนาวที่สุดในโลก (The Coldest Capital in the World) ช่วงหน้าหนาวอุณหภูมิติดลบ 26 ในช่วงบ่ายๆ และเคยติดลบสูงสุดถึง 40 องศาเลยทีเดีย แต่ไม่ต้องกังวัลนะคะ เดือนกันยายนยังไม่เข้าฤดูหนาวซะทีเดียว แต่สำหรับบางท่านแล้ว 5-16 องศาเซลเซียสเนี่ย ห่อตัวจนกลมเลย

สำหรับท่านที่ชื่นชอบอากาศเย็นละก็ อย่าชะล่าใจ เพราะที่นี่สภาพอากาศแบบแห้ง เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทางทะเล หรือ Land Lock อากาศแห้งๆ แบบนี้อาจทำให้ป่วยได้ การท่องเที่ยวประเทศมองโกเลียจึงมีเวลาประชาสัมพันธ์ให้ผู้คนมาเที่ยวในระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 4-5 เดือนเท่านั้น คือตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนกันยายน ขนาดเดือนที่ร้อนที่สุดของเมืองไทยในเดือนเมษายน ที่อูลันบาตาร์ยังมีหิมะตกอยู่เลยค่ะ อุณหภูมิยังติดลบ และกลางวันอุณหภูมิไม่เกิน 10 องศาเซลเซียส หากใครคิดจะไปเที่ยวมองโกเลียในฤดูหนาวแล้วล่ะก็ คุณจะผิดหวังอย่างแรง เพราะจะเจอกับมลพิษควันจากถ่านหินพ่นกระจายไปทั่วเมืองหลวงอูลันบาตาร์ที่เกิดจากการเผาเพื่อให้ความอบอุ่น มองไม่เห็นทิวทัศน์ของสเต็ปป์ทุ่งหญ้าอันสวยงามเลย   

ในเดือนกรกฏาคมของทุกปี อากาศแจ่มใสท่ามกลางอุณหภูมิเย็นสบายประมาณ 11- 24 องศาเซลเซียส สเต็ปป์ทุ่งหญ้าเขียวขจี ชาวมองโกเลียเผ่าต่างๆ มารวมตัวกันในเมืองอูลันบาตาร์เพื่อเข้าร่วม
เทศกาลนาดัม (Nadaam Festival) ระหว่างวันที่ 9 - 16 กรกฎาคม (วันจริงคือ 11 - 13 ก.ค.) 
เทศกาลที่มีประวัติสืบมาจากกองทัพของเจงกิสข่านที่มีการแบ่งกองทัพออกเป็นส่วนๆ และมีการประลองกำลังกันระหว่างพักรบ และเมื่อรบชนะ เรียกว่าเป็นเทศกาลประลองกำลังที่ดำเนินมาจนถึงปัจจุบัน อันได้แก่ มวยปล้ำ ขี่ม้า และยิงธนู ที่ท่านนายกประยุทธ์ ของเราได้ไปเยือนมองโกเลียช่วงเทศกาลนาดัมปีนี้ และได้รับมอบม้ามองโกลกลับมาเป็นของขวัญและตั้งชื่อว่า Moon ที่คล้องจองกับนามสกุลนั่นเองค่ะ

ช่วงพีค 4 เดือนในการท่องเที่ยวของมองโกเลีย จึงแพงมากๆ เพราะอีก 8 เดือนที่เหลือ นักท่องเที่ยวจะน้อย โกลบอล ฮอลิเดย์ เคยจัดไปมองโกเลียในช่วงปลายเดือนตุลาคม อุณหภูมิ ติดลบ 17 องศาเซลเซียส ผู้คนอยู่แต่ในบ้าน ในกระโจม และหากเคยได้ยินคำว่าหนาวจนหูหลุด น่าจะเป็นดินแดนแถบนี้และแถบไซบีเรียนี่เองค่ะ พูดถึงม้ามองโกล จัดเป็นม้าที่แข็งแรงและพันธุ์ดีที่สุด และเคยถูกส่งไปเกาะไอซ์แลนด์ ดังนั้นม้าบนเกาะไอซ์แลนด์คือม้าพันธุ์แท้จากประเทศมองโกล มีความแข็งแรง ตัวใหญ่ สง่างาม เค้าจึงสงวนพันธุ์ไม่ให้มีการนำเข้าม้าชนิดอื่นเข้าไปบนเกาะ เพื่อไม่ให้เกิดการผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์ม้าบริสุทธิ์

ทริปนี้เราจัดให้ทุกท่านได้ขี่ม้ามองโกลที่อุทยานแห่งชาติเทอเรลจ์ วันที่เราต้องไปนอนกระโจมด้วย การขี่ม้าไม่ยาก แต่ต้องทราบข้อมูลวิธีการขี่ม้าไว้ก่อน เพราะมีข้อควรระวังหลายประการ ในข้อมูลการเตรียมตัวเราจะเตรียมไว้ให้ 

ม้ามองโกล ถูกเลี้ยงให้อยู่กับธรรมชาติ อาจจะตกใจง่าย เมื่อครั้งไปมองโกเลียและขี่ม้า พี่สาวท่านหนึ่งเอาส้นเท้าไปกระทุ้งท้องม้า ตอนกำลังจะลงม้าตกใจพาวิ่งไปพร้อมกับขาข้างซ้ายที่ยังคาที่วางขาอยู่เพราะใส่เท้าเข้าไปลึกเกิน โดนม้าลากไปไกลเป็นกิโล กว่าจะหยุดม้าได้ต้องให้ชาวมองโกลขี่ม้าไล่กวด แต่โชคดีหน่อยที่ช่วงนั้นมีหิมะที่พื้นจึงบาดเจ็บไม่มาก แต่ฟกช้ำดำเขียวไปหลายวัน 

ระหว่างท่องเที่ยวในมองโกเลีย ให้ระวังทรัพย์สิน โดยเฉพาะกระเป๋าสตางค์ ที่ใส่เป้สะพายหลัง อาจโดนล้วงได้แบบไม่รู้ตัว เวลาไปเที่ยวสถานที่ที่ผู้คนมากๆ เบียดเสียดกัน เช่น ในวัดกานดาน ให้สะพายกระเป๋าไว้ด้านหน้านะคะ เมื่อเที่ยวในมองโกเลียแล้ว เราก็ไปต่อกันที่รถไฟค่ะ

รถไฟสายทรานส์ไซบีเรีย ห้องนอนชั้น 1 ขบวนรถไฟหมายเลข #5 เป็นขบวน Express ที่จะไม่จอดสถานีย่อยระหว่างอูลันบาตาร์และเอียร์คุตสก์ แต่จะจอดเพียง 5 สถานีคือ Darkhan, Sukhbaartar, Naushiki, Ulan-Ude และที่หมายของเราคือ เอียร์คุตสก์ Irkutsk  เนื่องจากขบวนนี้เป็นขบวนเฉพาะที่เหมาะที่จะมีพ่อค้าแม่ค้าชาวรัสเซียและมองโกเลีย นำสินค้าของตนไปขายที่ปลายทางมอสโคว จึงเป็นขบวนที่มีสีสัน เต็มไปด้วยแม่ค้าพ่อค้า ที่มีวิธีการค้าขายแบบ live style เช่น เสื้อผ้าที่จะนำไปขาย แม่ค้าก็ใส่แบบมีป้ายยี่ห้อแขวนที่ตัวเสื้อ แล้วใส่เข้าไปซ้อนๆ กันหลายๆ ตัว พอถึงสถานีใหญ่ แม่ค้าพ่อค้าก็เดินลงจากรถไฟ ไปเปิดการขายสดกันบนลานชานชาลา ถ้าขายดีหน่อยก็เหลือแต่เสื้อกล้ามเดินกลับมาบนขบวนรถไฟ ขบวนนี้จะมีสัปดาห์ละ 2 เที่ยว คือวันอังคารและวันศุกร์ ซึ่งหากจะวิ่งให้ถึงปลายทางกรุงมอสโควจะใช้เวลา 4 วัน กับอีก 5 ชั่วโมงเชียวค่ะ 

มีใครอยากนั่งรถไฟไปเที่ยวมอสโคว จากกรุงเทพฯ ก็ทำได้นะ เราเคยช่วยคุณเรย์ แมคโดนัล วางแผนทำเส้นทางรถไฟจากหัวลำโพง ผ่านเวียดนาม ผ่านจีน ผ่านรัสเซียไปจนถึงยุโรป ใช้เวลาเดินทางไปด้วยแวะเที่ยวไปด้วย 1 เดือน 

มาต่อกันที่ขบวน #5 เมื่อเป็นขบวนยอดฮิตของพ่อค้าแม่ค้า การตรวจเข้มข้นที่ด่านชายแดน เมืองเนาชกิ (Naushki) จึงทำให้ขบวนรถไฟต้องจอดที่สถานีนี้เป็นเวลา 3-4 ชั่วโมง ตำรวจที่ขึ้นมาตรวจค้นการลักลอบขนสินค้า จะเหมือนสายลับตรวจหาสิ่งของต้องสงสัย ทั้งพื้น ช่องว่างใต้หลังคา ใต้เบาะ ตื่นเต้นไม่เบา การตระเตรียมอุปกรณ์สำหรับปัสาวะฉุกเฉินน่าจะเป็นประโยชน์ อีกประการ สำหรับท่านที่ไม่เคยนอนแล้วรู้สึกเขย่าๆ บนรถไฟ ซึ่งอาจเมารถไฟได้ ลองหาวิธีที่จะให้ตัวเองนอนหลับนะคะ เพราะตื่นเช้ามาจะได้ไม่เพลีย พร้อมกับเห็นภาพโค้งทองแห่งไซบีเรีย ที่ขบวนรถไฟวิ่งเลาะเลียบทะเลสาบไบคาล และหมู่บ้านลิสเวียนก้าแถบไซบีเรียที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว 

อ้อ..ทางโกลบอล ฮอลิเดย์จะแจกหนังสือให้ท่านอ่านเพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับเส้นทางรถไฟสายนี้ด้วยนะคะ เขียนโดยคุณวันนัด สรรกุล ซึ่งผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับเส้นทางรถไฟทรานส์ไซบีเรีย 2 เล่มแล้วท้ายนี้ไกด์บอกว่าเหลืองานให้น้องทำบ้าง ไตเติ้ลหนังเรื่องนี้ยาวไปหน่อยเดี๋ยวไปเที่ยวแล้วไม่สนุก ไว้ไปเที่ยวด้วยกันดีกว่านะคะ 

Top